การใช้งานฐานข้อมูล(Database)

 

                การใช้ข้อมูลในบทที่ผ่านมา เช่น การใช้ตัวเลข การคำนวณ และการแสดงผลด้วยตัวควบคุมต่างๆ เมื่อจบโปรแกรมแล้วข้อมูลเหล่านั้นไม่ได้ถูกบันทึกไว้ เมื่อให้โปรแกรมทำงานใหม่ก็ต้องป้อนใหม่เข้าไปอีก

                ในการใช้งานฐานข้อมูลที่มีจำนวนมากจึงจำเป็นต้องมีการเก็บข้อมูลไว้ในแฟ้มข้อมูล หรือเก็บเป็นฐานข้อมูล(Database) เพื่อให้สามารถนำข้อมูลนั้นออกมาใช้ได้อีก เช่น ฐานข้อมูลนักศึกษา ฐานข้อมูลบุคลากร ฯลฯ

                ฐานข้อมูลปกติจัดอยู่ในรูปของตาราง(Table) เหมือนตะแกรง(Grid) ซึ่งประกอบด้วยรายการ(Record) หลายรายการในแนวนอน (Row) ทุกรายการจะมีเขตข้อมูลหรือฟิลด์(Field) ต่างๆ ขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ใช้ จัดวางอยู่ในแนวตั้ง(Column) เช่น ฐานข้อมูลสินค้า ดังรูป

Record 1

 
                                                ชื่อสินค้า                               จำนวน                                  ราคา

 

 

 

Record 2

2

 

Record 3

 

 

 

 

 

 

 

                การใช้งานฐานข้อมูลของ Visual Basic Express ทำได้ 2 แบบ คือ

1.             ใช้ฐานข้อมูลของ Microsoft SQL Server

2.             ใช้ฐานข้อมูลของ Microsoft Access

การใช้งานฐานข้อมูลจะต้องมีฐานข้อมูลอยู่แล้ว แต่ถ้ายังไม่มีก็ต้องสร้างฐานข้อมูลขึ้นมาก่อน

 

1. การสร้างฐานข้อมูล

                การใช้ฐานข้อมูลของ Microsoft SQL Server จะต้องติดตั้ง SQL Server Express จึงจะใช้ได้ซึ่งปกติแล้วจะติดตั้งพร้อมกับ Visual Basic Express (ดูในบทที่ 1)

                การสร้างฐานข้อมูล มีขั้นตอนดังตัวอย่างต่อไปนี้

1.             ที่หน้าต่างหลักของ Visual Basic Express เลือกรายการ File แล้วเลือก New Project

 

 

 

 

 

 


2.             จะปรากฏกล่องสำหรับเลือกรูปแบบ (Templates) ของ New Project คลิกเลือก Windows Application ดังรูป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


3.             ในช่องสำหรับตั้งชื่อ(Name : ) พิมพ์ชื่อโครงงานเข้าไปเช่น FirstDatabase แล้วคลิกที่ปุ่ม “OK” จะปรากฏฟอร์มเหมือนกับการเริ่มสร้างโครงงานใหม่

4.             คลิกที่เมนู Project เลือกคำสั่งย่อย Add New Item ดังรูป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


               

5.             ในกล่องเลือกของ Add New Item เลือก SQL Database ดังรูป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


6.             ในช่องสำหรับตั้งชื่อ (Name : ) พิมพ์ชื่อฐานข้อมูลเข้าไป หรือใช้ชื่อที่ปรากฏ เช่น Database1.mdf แล้วคลิกที่ปุ่ม “Add” จะปรากฏหน้าต่าง Data Source Configuration Wizard ดังรูป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


7.             คลิกที่ปุ่ม “Cancel” จะทำให้ชื่อฐานข้อมูลใหม่ไปปรากฏในหน้าต่าง Solution Explorer ดังรูป

 


           

 

 

 

               

 

การเพิ่มตาราง(Table) ในฐานข้อมูล

เมื่อสร้างฐานข้อมูลแล้วจะต้องเพิ่มตารางเข้าไปเพื่อที่จะเก็บข้อมูลได้ การเพิ่มตารางทำตามขั้นตอนตัวอย่างได้ ดังนี้

1. ที่หน้าต่างหลักของ Visual Basic Express เลือกเมนู View แล้วเลือกคำสั่งย่อย Database Explorer ดังรูป

 

 


               

 

 

2. ที่หน้าต่าง  Database Explorer คลิกที่ + เพื่อขยายปุ่มฐานข้อมูล Database1.mdf แล้วเลือกปุ่ม Tables ดังรูป

 

 

 

 

 

 

 

 

3.             คลิกที่หน้าต่างหลัก คลิกเมนู Data >Add  New > Table ดังรูป

 

 

 

 

 

 

 

 


 

 

 

จะปรากฏหน้าต่างสำหรับออกแบบตาราง(Table Designer) ดังรูป

 

 

 


4.             ในหน้าต่างคุณสมบัติของ Table เลือก Name แล้วพิมพ์ชื่อตารางให้เหมาะสมกับข้อมูลที่จะเก็บ เช่น ถ้าจะเก็บข้อมูลชื่อ ที่อยู่ ก็ใช้ Address ดังรูป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


5.             ในหน้าต่าง Table Designer เลือกฟิลด์ Column Name แล้วพิมพ์ชื่อฟิลด์ที่จะเก็บข้อมูล เช่น ถ้าจะเก็บชื่อก็พิมพ์ FirstName

 

 


6.             ที่ฟิลด์ Data Type ใช้สำหรับกำหนดขนาดของข้อมูลที่จะเก็บ เช่น ถ้าต้องการเก็บชื่อที่มีความยาวไม่เกิน 50 ตัวอักษรก็เลือก nvarchar(50) จากรายการให้เลือก ดังรูป

 

 

 

 

 

 

 

 

 


ในช่อง Allow Nulls จะกาเครื่องหมายถูกให้ หมายถึง ยอมให้ไม่มีค่า(Null) ได้

7.             จัดทำฟิลด์ที่ต้องการเก็บต่อไปจนครบ เช่น นามสกุล(LastName) ที่อยู่(Address) จังหวัด(Province) รหัสไปรษณีย์(ZipCode) และหมายเลขโทรศัพท์(Phone) ได้ ดังรูป

 

 

 

 

 

 

 

 


8.             หน้าต่างหลัก เลือกคำสั่ง File แล้วเลือกาคำสั่งย่อย  Save Address เพื่อเก็บตาราง

 

การเพิ่มกุญแจ(Key)

                เพื่อป้องกันไม่ให้ข้อมูลมีรายการซ้ำกัน เช่น ทั้งชื่อและนามสกุลไม่ควรให้ซ้ำกันได้ ดังนั้นจึงต้องเพิ่มกุญแจเข้าไปที่ชื่อและนามสกุล ดังนี้

                1. ในหน้าต่าง Table Designer คลิกเอาเครื่องหมายถูกออกจากกล่องเลือก Allow Nulls ของ FirstName และ LastName

                2. เลือกแถว FirstName และ LastName โดยคลิกที่แถว FirstName ก่อน แล้วกดปุ่ม Ctrl ค้างไว้แล้วคลิกที่แถว LastName ดังรูป

 

 

 

 

 


                3. ที่หน้าต่างหลักคลิกเมนู Table Designer แล้วเลือกคำสั่งย่อย Set Primary Key ดังรูป

 

 

 

 

 

 

 

 

 


                4. จะปรากฏรูปกุญแจง(Key) ที่ฟิลด์ FirstName และ LastName ดังรูป

 

 

 

 

 

 

 

 


                5. เก็บบันทึก(Save) ตารางอีกครั้ง โดยกดแป้น <Ctrl> + <S>

 

2. การเก็บข้อมูลเข้าในฐานข้อมูล

                การเก็บข้อมูลเข้าไปในฐานข้อมูลอาจทำได้โดยเพิ่มข้อมูลเข้าไปในตารางเลย ดังนี้

                การเพิ่มข้อมูลเข้าในตาราง

1.             ในหน้าต่าง Database Explorer ขยายปุ่ม Table และเลือกตาราง Address ดังรูป

 

 

 

 

 

 

 


2.             ที่หน้าต่างหลัก เลือกเมนู Data>Show Table Data ดังรูป

 

 

 

 

 

 

 

จะปรากฏตารางสำหรับป้อนข้อมูล ดังรูป

 

 

 


แต่ละฟิลด์แสดง NULL หมายถึง ยังไม่มีข้อมูล

3.             เลือกฟิลด์ FirstName แล้วป้อนชื่อเข้าไป แล้วกดแป้น <TAB> เพื่อป้อนฟิลด์ถัดไปดังตัวอย่าง

 

 

 

 

 


4.             ป้อนรายการ(Record) ต่อไปจนครบตามต้องการ

หมายเหตุ ขณะที่ป้อนรายการจะมีรูปดินสอตรงรายการที่กำลังป้อน และมีรูปตัว ! สีแดง ที่แต่ละฟิลด์หมายถึงรายการนี้ยังไม่ได้เก็บฐานข้อมูล เมื่อป้อนรายการเสร็จแล้วจึงจะเก็บและรูปดังกล่าวหายไป

5.             เมื่อป้อนพอแล้ว ให้บันทึกโครงงานและฐานข้อมูล โดยเลือก Save All จากรายการ File จะเป็นการ Save Project

6.             เมื่อคลิกที่ปุ่ม “Save” เพื่อบันทึกโครงงานและฐานข้อมูลเสร็จแล้ว สามารถปิดโครงงาน(Close Project) ได้

 

กิจกรรมที่ 8.1

                ให้สร้างฐานข้อมูลสำหรับเก็บรายการหนังสือ โดยใช้ฟิลด์ที่จำเป็น(ออกแบบให้เหมาะสม) และเก็บข้อมูลอย่างน้อย 5 รายการ

 

 

3. การติดต่อกับฐานข้อมูล

                เมื่อมีฐานข้อมูลอยู่แล้ว การติดต่กับฐานข้อมูลทำได้ไม่ยาก ดังต่อไปนี้

1.             สร้างโครงงานใหม่ แบบ Windows Application ชื่อ Address

2.             ในหน้าต่าง Solution Explorer คลิกที่แถบ Data Sources จะปรากฏหน้าต่าง Data Sources ดังรูป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

3.             ในหน้าต่าง Data Source คลิกที่ Add New Data Source… จะปรากฏหน้าต่าง Data Source Configuration Wizard ดังรูป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


4.             เลือก Database แล้วคลิกที่ปุ่ม “Next” จะปรากฏเลือก Data Source ดังรูป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


5.             คลิกที่ปุ่ม “New Connection” จะปรากฏกล่องเลือก “Add Connection” ดังรูป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


6.             ในกล่องเลือก Data Source : ให้เป็น Microsoft SQL Server Database File (SQL – Client)

7.             คลิกที่ปุ่ม “Browse” เพื่อกำหนดชื่อฐานข้อมูล(Database File Name) โดยหาจากตำแหน่งที่เก็บฐานข้อมูลไว้ ดังรูป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


8.             เมื่อเลือกฐานข้อมูลได้แล้ว คลิกที่ปุ่ม “Open” ชื่อฐานข้อมูลพร้อมตำแหน่งที่จะเก็บไปปรากฏที่ช่อง Database file name ของกล่อง “Add Connection” ดังรูป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


9.             คลิกที่ปุ่ม “OK” เพื่อปิดกล่อง Add Connect จะปรากฏชื่อแฟ้มฐานข้อมูล Database1.mdf ในหน้าต่าง Data Source Configuration Wizard ดังรูป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

10.      คลิกที่ปุ่ม “Next” จะปรากฏกล่องถามว่าจะคัดลอกไฟล์ไปเก็บไว้ในโครงงานหรือไม่ให้ตอบ “Yes”

 

 

 

 

 


11.      จะปรากฏหน้าถัดไปของ Data Source Configuration Wizard ดังรูป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


12.      คลิกที่ปุ่ม Next จะเป็นการหาข้อมูลเกี่ยวกับฐานข้อมูล ดังรูป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


13.      จากนั้นเป็นการเลือก Database Objects ดังรูป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


14.      ขยายปุ่ม Tables และเลือก Address ดังรูป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


15.      คลิกที่ปุ่ม Finish เสร็จสิ้นการเลือกจะปรากฏชุดข้อมูล(Dataset) ชื่อ Database1DataSet ในหน้าต่าง Data Sources ดังรูป

16. จากรายการ    File ของหน้าต่างหลักเลือก

       Save All เพื่อบันทึกโครงงานทั้งหมด

 

4. การเรียกใช้ข้อมูล

                หลังจากทำการติดต่อฐานข้อมูลได้แล้ว การเรียกดูหรือแก้ไขข้อมูลทำได้ไม่ยาก โดยต้องจัดวางชุดฐานข้อมูลลงบนฟอร์ม ดังต่อไปนี้

1.             ที่หน้าต่าง Data Source เลือกชื่อตาราง Address

คลิกที่ปุ่มลูกศรลง แล้วเลือก Detail ดังรูป

 

 

 

 

2. คลิกที่ Address ค้างไว้ ลากไปวางบนฟอร์มได้ ดังรูป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


ด้านล่างใต้ฟอร์มจะปรากฏชื่อของวัตถุต่างๆ ของชุดข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการใช้งานฐานข้อมูล   ดังรูป

 

 


AddressBindingNavigator คือแถบที่อยู่ด้านบนของฟอร์ม ใช้สำหรับรายการข้อมูลดังนี้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


3. ทำการตกแต่งฟอร์มตามต้องการ หรือตามตัวอย่าง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


4. กดแป้น <F5> เพื่อให้โปรแกรมทำงานได้ ดังรูป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


กิจกรรมที่ 8.2

 

                ให้สร้างโปรแกรมเพื่อเรียกดูข้อมูลจากฐานข้อมูลตามตัวอย่าง

 

 

 

 

5. เมื่อต้องการติดต่อกับฐานข้อมูล Microsoft Access

                เมื่อต้องการใช้ฐานข้อมูล Microsoft Access ที่มีอยู่แล้ว (ถ้ายังไม่มีกรุณาใช้ Access สร้างขึ้นมาก่อน) เช่น ฐานข้อมูลนักเรียน วิธีการติดต่อกับฐานข้อมูลเพื่อใช้งานสามารถทำได้เช่นเดียวกันกับการติดต่อฐานข้อมูลของ Microsoft SQL Server เพียงแต่เปลี่ยน data Source ให้เป็น Microsoft Access Database File ดังนี้

1.             สร้างโครงงานใหม่แบบ Windows Application ตั้งชื่อตามงานที่ต้องการ เช่น Student6_1 จะปรากฏหน้าต่าง Data Sources ดังรูป

2.             ในหน้าต่าง Solution Explorer คลิกที่แถบ

Data Sources จะปรากฏในหน้าต่าง Data Sources

ดังรูป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

3.             ในหน้าต่าง Data Sources คลิกที่ Add New Data Sources… จะปรากฏหน้าต่าง Data Source Configuration Wizard ดังรูป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

4.             เลือก Database แล้วเลือกคลิกที่ปุ่ม Next จะปรากฏการเลือก Data Connection ดังรูป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


5.             คลิกที่ปุ่ม New Connection จะปรากฏกล่องเลือก Add Connection ดังรูป

 

 

 


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

6.             เลือก Data Source : โดยคลิกที่ปุ่ม Change  จะปรากฏกล่องสำหรับเลือก Data Source ดังรูป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


7.             เลือก Microsoft Access Database File แล้วคลิกที่ปุ่ม OK ได้ ดังรูป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


8.             คลิกที่ปุ่ม Browse เพื่อกำหนดชื่อฐานข้อมูล (Database file name ) โดยหาจากตำแหน่งที่เก็บฐานข้อมูลไว้ ดังรูป

 

 


               

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

9.             เมื่อเลือกแฟ้มฐานข้อมูลของ Access ได้แล้วคลิกที่ปุ่ม Open ได้ ดังรูป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


10.      อาจทำการทดสอบการติดต่อข้อมูลได้ที่ปุ่ม Test Connection เสร็จแล้วคลิกที่ปุ่ม OK  ได้ ดังรูป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


11.      คลิกที่ปุ่ม Next จะปรากฏกล่องถามว่าจะคัดลอกไฟล์ไปไว้ในโครงงานหรือไม่ ให้ตอบ Yes

 

 

 

 

 


12.      ปรากฏหน้าถัดไปของ Data Source Configuration Wizard ดังรูป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


13.      คลิกที่ปุ่ม Next เพื่อบันทึกการติดต่อ จากนั้นจะเป็นหน้าต่างสำหรับเลือกตารางข้อมูล ดังรูป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


14.      คลิกเพื่อขยาย Tables และคลิกเลือกตาราง Student6_1 ดังรูป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


15.      ตั้งชื่อชุดของข้อมูล(DataSet Name) หรือใช้ชื่อที่ปรากฏเลย คือ Student6_1DataSet แล้วคลิกที่ปุ่ม Finish เสร็จสิ้นการเลือก จะปรากฏชุดข้อมูล(DataSet) ชื่อ Student6_1DataSet ในหน้าต่าง Data Source ดังรูป

 

 

 

16.      จากเมนู File ของหน้าต่างหลัก เลือก Save All เพื่อบันทึกโครงงานทั้งหมด

 

6. การใช้งานฐานข้อมูล Microsoft Access

                หลังจากทำการติดต่อฐานข้อมูลได้แล้ว การเรียกดูหรือแก้ไขข้อมูลทำได้ไม่ยาก โดยต้องจัดวางชุดฐานข้อมูลลงบนฟอร์ม ดังต่อไปนี้

1.             ที่หน้าต่าง Data Source เลือกชื่อตาราง Student6_1 คลิกที่ปุ่มลูกศรลง แล้วเลือก DataGridView ดังรูป

 

หมายเหตุ ถ้าเลือก Details ให้ดูตามตัวอย่างของ Addresses

 

 
               

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


                ด้านล่างใต้ฟอร์มจะปรากฏชื่อของวัตถุต่างๆ ของชุดข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการใช้งานฐานข้อมูล  ดังรูป

 


                3. ในหน้าต่างคุณสมบัติประจำตัวของ Student6_1DataGridView  เลือกรายการ Dock คลิกที่ช่องขวาจะปรากฏรูปแบบการางตำแหน่ง ดังรูป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                4. คลิกเลือกตรงกลาง ได้ดังรูป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


                5. ทำการตกแต่งฟอร์มตามต้องการหรือตามตัวอย่าง แล้วบันทึกโครงงานทั้งหมด

 

 

 

 

 

 

 

 

 


กิจกรรมที่ 8.3

                ให้สร้างโครงงานเพื่อเรียกดูข้อมูลจากฐานข้อมูล Access ตามตัวอย่าง

 

สรุป

                ฐานข้อมูล(Database) เป็นการจัดเก็บข้อมูลในรูปของตารางไว้เพื่อนำมาใช้งานได้ Visual Basic Express สามารถใช้ฐานข้อมูลได้ 2 แบบ คือ

1.             ฐานข้อมูลของ Microsoft SQL Server

2.             ฐานข้อมูลของ Microsoft Access

การใช้งานฐานข้อมูลจะต้องสร้างฐานข้อมูลก่อน แล้วเพิ่มตารางเพื่อใช้เก็บข้อมูลในตารางฐานข้อมูล        ในตารางฐานข้อมูลประกอบด้วย

-                   เขตข้อมูล(Field) ต่างๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับแบบของข้อมูลที่ใช้

-                   รายการข้อมูล(Record) ที่จัดเก็บในฟิลด์ต่างๆ

การกำหนดกุญแจของฟิลด์เพื่อป้องกันการป้อนข้อมูลซ้ำกัน

เมื่อมีฐานข้อมูลแล้ว ต้องทำการติดต่อกับฐานข้อมูลก่อน จึงจะใช้งานได้

การใช้ฐานข้อมูลอาจใช้แบบตาราง(DataGridView) หรือใช้แบบรายละเอียดตามเขตข้อมูล(Detail) ได้